Breaking News

มมส ติดอันดับโลก จาก THE World University Rankings 2024

Times Higher Education World University Rankings 2024 ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 โดยในปีนี้มีสถาบันเข้าร่วมกว่า 1,904 แห่ง จาก 108 ประเทศ เพิ่มจากเดิม 105 สถาบัน

สำหรับเสาหลักทั้ง 5 ด้านของ Times Higher Education World University Rankings ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ 3 ด้าน ได้แก่ 1. Research เป็น Research Environment 2. Citation เป็น Research Quality และ 3. Industry Income เป็น Industry โดยผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดอันดับที่ 1501+ ร่วมในระดับโลก และอันดับ 5 ร่วมระดับประเทศ และด้านที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่
1. International Outlook : ภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ (International staff, International co-authorship, International students และ Studying abroad)
2. Teaching : ด้านการเรียนการสอน (Doctorate bachelor ratio, Doctorate staff ratio, Teaching reputation, Student staff ratio, และ Institutional income)
3. Industry : ด้านอุตสาหกรรม (Industry income และ Patents)
4. Research Quality : ด้านคุณภาพงานวิจัย (Citation impact, Research strength, Research excellence, และ Research influence)
5. Research Environment : ด้านสภาพแวดล้อมการวิจัย (Research productivity, Research reputation, และ Research income)

สำหรับการจัดอันดับในปีนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการ citation กว่า 134 ล้านครั้ง (เดิม 121 ล้านครั้ง) จากงานวิจัยกว่า 16.5 ล้านฉบับ (เดิม 15.5 ล้านฉบับ) รวมถึงผลการสำรวจที่ได้จากนักวิชาการกว่า 68,402 คนทั่วโลก(เดิม 40,000 คน) โดยมีมหาวิทยาลัยถึง 2,673 แห่งส่งข้อมูลขอรับการจัดอันดับ แต่มีเพียง 1,904 แห่งเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับ

University of Oxford สหราชอาณาจักร ยังครองตำแหน่งสูงสุดเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน แต่กลับพบว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ ในห้าอันดับแรกมีการเปลี่ยนแปลง โดย Stanford University ขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ผลัก Harvard University ลงมาอยู่อันดับ 4 ส่วน Massachusetts Institute of Technology (MIT) ไต่ขึ้นสองอันดับมาอยู่ที่สามในปีนี้ สำหรับ University of Cambridge หลุดไปอยู่อันดับที่ 5 หลังจากอยู่ในอันดับที่ 3 ร่วมกันเมื่อปีที่แล้ว และมหาวิทยาลัยใหม่ที่เพิ่งเข้าร่วมการจัดอันดับแต่ไต่อันดับสูงที่สุดคือ Catholic University of the Sacred Heart ของอิตาลี ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 301-350 อย่างไรก็ตาม สถาบันส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในปีนี้อยู่ในเอเชีย

สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีสถาบันเข้าร่วมมากที่สุด จำนวน 169 แห่ง และยังเป็นประเทศที่มีสถาบันเข้าร่วมมากที่สุดใน 200 อันดับแรก (56 แห่ง) ด้วยสถาบัน 91 แห่ง ปัจจุบันอินเดียกลายเป็นประเทศที่มีสถาบันเข้าร่วมมากที่สุดเป็นอันดับ 4 แซงหน้าจีน (86 แห่ง)

ในปีนี้ มี 4 ประเทศเข้าสู่การจัดอันดับเป็นครั้งแรก โดยทั้งหมดอยู่ในยุโรป ได้แก่ Kosovo, Bosnia and Herzegovina, North Macedonia และ Armenia ซึ่งตรงกันข้ามกับปีที่แล้วที่เป็นสถาบันจากแอฟริกา

Stanford University เป็นผู้นำในด้านการสอน ในขณะที่ Universities of Oxford และ University of Cambridge อยู่ในอันดับต้นๆ ในด้านสภาพแวดล้อมการวิจัย นอกจากนี้ เสาหลักด้าน Research Quality ซึ่งเป็นเสาหลักด้าน Citations ที่เปลี่ยนชื่อใหม่ ให้ความสำคัญกับ MIT เป็นอันดับแรก

University of Sharjah ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับคะแนนสูงสุดในด้าน international outlook ในขณะที่สถาบัน 28 แห่งได้รับคะแนนสูงสุด 100 คะแนนสำหรับเสาหลักในด้าน Industry

สำหรับประเทศไทยนั้น อันดับที่ 1 หรืออันดับที่ 601-800 ของโลก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวน 19 แห่ง ที่ได้รับการอันดับแล้ว ยังมีอีก 8 แห่งที่ส่งข้อมูลเข้าร่วมการจัดอันดับในปีนี้ด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
ข่าว : ศิเรมอร ประทุมทิพย์
ที่มา : กลุ่มงานกิจการต่างประเทศ กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://bit.ly/3LFDKcm

Check Also

มมส ได้รับการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2024 และมีความโดดเด่นในด้านการรับนิสิตแลกเปลี่ยน

Quacquarelli Sy …

สวัสดีและขอบคุณที่ติดต่อเรา!