วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เวลา 07.00 น. ตามเวลาประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระ พันลูกท้าว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์กันตา วิลาชัย คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง เข้าร่วมการประชุม University Sector Support to the UN’s Decade of Action : A Meeting of Asia-Pacific University Presidents จัดโดย the UN Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่าย SDSN ผ่านทางวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประชุมหารือและให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงปารีส (Paris Climate Agreement) การประชุมดำเนินรายการโดย Professor Jeffrey David Sachs ตำแหน่ง President of the UN Sustainable Development Solutions Network และ University Professor and Director of the Center for Sustainable Development at Columbia University โดยได้รับเกียรติในการกล่าวเปิดงานจาก Amina Mohammed, Deputy Secretary General, UN (tbc) และ Nadiem Makarim, Minister of Education, Indonesia
นอกจากนี้ ยังได้เชิญผู้มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำใน Asia-Pacific ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “The role of academia to achieve the SDGs and Paris Agreement” ได้แก่
• Professor Margaret Gardner, Vice Chancellor, Monash University
• Dr. Lan Xue, Dean of Schwarzman College, Tsinghua University
• Professor Elizabeth Lee, Chief Executive Officer, Sunway Education Group
• Professor Fujii, President, Tokyo University
• Professor Rupa Chanda, Director, Trade, Investment and Innovation Division, ESCAP
• Aromar Revi, Director of the Indian Institute for Human Settlements (IIHS) and IPCC author
มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าร่วมรับฟังและพูดคุยในประเด็น Education programs for Sustainable Development,Climate Change and Research programs,Universities and businesses for innovation
สำหรับ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) เป็นเครือข่ายระดับโลกที่ทำงานใกล้ชิดกับองค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 800 องค์กรใน 35 ประเทศ มีเครือข่ายในอาเซียนได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีภารกิจหลักของ SDSN คือการวิเคราะห์นโยบายและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการบรรลุ SDGs พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยั่งยืน ตลอดจนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการระดมทรัพยากรและทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น
เครือข่าย SDSN ประเทศไทยที่จะจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพคือ โครงการวิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทย.) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ FB MSU : Mahasarakham University << Click
ภาพ : อภิราม ทามแก้ว
ข่าว : ศิเรมอร ประทุมทิพย์
ที่มา : https://www.sdgmove.com